top of page
1.png

คำถามที่พบบ่อย
"การผ่าตัดปลูกถ่ายตับ"

  • ตัวโรคตับแข็งจะกลับมาเป็นอีกไหม

ตอบ : โรคตับสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก ดังนั้นจึงต้องดูแลสุขภาพและรักษาสาเหตุของผู้ป่วยตามแต่ภาวะของโรค หากได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมโอกาสที่จะกลับเป็นซ้ำน้อย

  • ตับแข็งแล้วทำให้หายแข็งได้หรือไม่ ไม่อยากปลูกถ่ายตับ

ตอบ : เมื่อผู้ป่วยมาภาวะตับแข็งแล้ว จะไม่สามารถรักษาให้หายได้แต่อาจชะลอภาวะตับวายได้ด้วยการรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะตับแข็งนั้น ๆ แต่หากตับแข็งอยู่ในระยะท้ายแล้วการผ่าตัดปลูกถ่ายตับจะเป็นทางรักษาทางเดียวที่ช่วยผู้ป่วยให้หายได้

  • เปลี่ยนแล้วมีโอกาสเสียชีวิตมากหรือไม่

ตอบ : การผ่าตัดปลูกถ่ายตับเป็นการผ่าตัดที่มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้พอสมควร นอกจากนั้นภาวะตับเดิมของผู้ป่วย โรคประจำตัวและความพร้อมก่อนการผ่าตัดมีผลต่อผลลัพธ์ของการรักษาทั้งสิ้น ที่ศูนย์ปลูกถ่ายตับมีมีอัตราเสียชีวิตหลังผ่าตัดอยู่ที่ 6% แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ปลูกถ่ายแต่ไม่ได้รับการปลูกถ่ายนั้นมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคสูงกว่าโอกาสเสียชีวิตจากการผ่าตัดมาก

  • ต้องรอคิวนานหรือไม่ กังวลว่าจะไม่ได้ปลูกถ่ายตับ

ตอบ : ค่าเฉลี่ยในการเข้าคิวรอปลูกถ่ายที่ศูนย์ปลูกถ่ายตับศิริราชจะอยู่ที่ 6 เดือน

  • จะได้เปลี่ยนช้าหรือเร็วขึ้นกับอะไร

ตอบ : ลำดับผู้ป่วยที่จะได้รับการปลูกถ่ายนั้น เรียงลำดับตามความหนักเบาก่อน ถ้าความหนักเบาเท่ากันผู้ที่เข้าขอรับการปลูกถ่ายก่อนจะได้การเปลี่ยนก่อน ดังนั้นการจะได้ปลูกถ่ายช้าหรือเร็วนั้นขึ้นกับความหนักเบาของตัวผู้ป่วยเองและผู้ป่วยที่อยู่ในคิวในขณะนั้น รวมถึงปริมาณการบริจาคที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวอีกด้วย

  • อายุมากแล้ว ปลูกถ่ายตับได้หรือไม่

ตอบ : ตามนโยบายของศูนย์ปลูกถ่ายตับศิริราชนั้น ผู้ป่วยต้องเข้ารับการขอปลูกถ่ายก่อนอายุ 70 ปี และต้องได้รับการเปลี่ยนภายในอายุ 73 ปี ถ้าหากมีอายุมากกว่านี้ทางศูนย์ปลูกถ่ายตับศิริราชไม่แนะนำให้ทำการปลูกถ่าย

bottom of page