top of page

ขั้นตอนการสมัครปลูกถ่ายตับ

พบทีมศัลยแพทย์เพื่อประเมินผู้ป่วย

พบศัลยแพทย์ทีมปลูกถ่ายตับเพื่อประเมินว่าผู้ป่วยเข้าหลักเกณฑ์รอรับการปลูกถ่ายตับหรือไม่

 

  • ทำบัตรประจำตัวผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราช

- ตึกผู้ป่วยนอกชั้น 1 ห้อง 100 พร้อมเอกสารบัตรประชาชน

- ทำออนไลน์ได้ที่  https://si-eservice2.mahidol.ac.th/medrecord/

  •  นัดพบศัลยแพทย์ทีมปลูกถ่ายตับ

- หน่วยตรวจศัลยศาสตร์ ตึกผู้ป่วยนอกชั้น 3  

- สำนักงานคลินิกพิเศษ เบอร์โทรศัพท์ 02-419-9801-2

พบพยาบาลประสานงานปลูกถ่ายอวัยวะ

พบพยาบาลประสานงานปลูกถ่ายอวัยวะ

ที่ตึก 84 ปี ชั้น 2 เพื่อรับฟังข้อมูลพร้อมตอบข้อซักถาม

ตรวจร่างกายเตรียมความพร้อมก่อน

การปลูกถ่ายตับ

  • เจาะเลือด ตรวจอุจจาระ ดูการติดเชื้อ

  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ

  • ตรวจเอกซเรย์ปอด

  • ตรวจฟัน

  • ตรวจแมมโมแกรม และตรวจภายในสำหรับผู้หญิง

  • ตรวจประเมินทางจิตเวช

สิทธิการรักษา

ในปัจจุบันสิทธิการรักษาที่ครอบคลุมการปลูกถ่ายตับ ได้แก่

  • สิทธิข้าราชการ

  • สิทธิรัฐวิสาหกิจ

  • สิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น

  • สิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตนต้องยื่นแบบรับคำขอรับประโยชน์ทดแทน “ขอเข้ารับการปลูกถ่ายตับและรับยากดภูมิคุ้มกัน”

  • สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช.

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย

รอปลูกถ่ายตับเมื่อได้รับการลงทะเบียนรอปลูกถ่ายตับ

1. เมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต้องโทรแจ้งสำนักงานเปลี่ยนอวัยวะทุกครั้ง

  • แจ้งแพทย์ผู้รักษาว่าอยู่ระหว่างรอปลูกถ่ายอวัยวะ ขอสรุปผลการรักษาพร้อมขอผลการตรวจที่เกี่ยวข้อง และผลเลือด โดยให้มีผล Na (Sodium), INR, TB (Total bilirubin), Cr (creatinine)

  • เมื่อต้องเข้ารับการเจาะระบายน้ำในช่องท้องหรือปอดให้จดบันทึก วันที่ ปริมาณน้ำตำแหน่งที่เจาะ และให้สอบถามแพทย์ว่ามีการติดเชื้อของน้ำในช่องท้องหรือไม่

  • เมื่อต้องเข้ารับการรักษาก้อนมะเร็งตับแบบปฐมภูมิ

2. รับประทานอาหารสุกสะอาด สดใหม่ เน้นโปรตีนจากไข่ขาวโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา

หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดการท้องเสียหรือติดเชื้อทางเดินอาหาร

3. งดรับประทานยาสมุนไพร ยาต้ม ยาหม้อ ยาลูกกลอน น้ำมันกัญชา และอาหารเสริมอื่นๆทุกชนิด

4. ดูแลตนเอง สังเกตอาการผิดปกติ  หากพบอาการดังต่อไปนี้ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด

ตาตัวเหลืองมากขึ้น ซึมและสับสน หลงวันเวลาและสถานที่ ให้พาผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที

5. เตรียมพร้อมที่จะเข้ารับการปลูกถ่ายตับ หากมีธุระต้องเดินทางไปต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ ให้โทรแจ้งที่สำนักงานเปลี่ยนอวัยวะศิริราชทุกครั้ง

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย

เมื่อได้รับการติดต่อมาปลูกถ่ายตับ

1. เตรียมเอกสารสิทธิที่เกี่ยวข้อง

  • สิทธิข้าราชการหรือสิทธิที่เบิกได้จากต้นสังกัด ให้นำบัตรประชาชนมาด้วยทุกครั้ง

  • สิทธิประกันสังคมให้นำหนังสืออนุมัติปลูกถ่ายตับและหนังสือส่งตัวจากโรงพยาบาลต้นสังกัดมาด้วยทุกครั้ง

  • สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้นำหนังสือส่งตัวจากโรงพยาบาลต้นสังกัดมาด้วยทุกครั้ง

2. เตรียมยาที่รับประทานอยู่ประจำนำมาโรงพยาบาล

3. มาตามวันและเวลาที่พยาบาลประสานงานโทรแจ้ง

4. งดน้ำงดอาหาร ตามวันและเวลาที่พยาบาลประสานงานโทรแจ้ง

5. เมื่อมาถึงสำนักงานเปลี่ยนอวัยวะ ตึก 84 ปีชั้น 2 โรงพยาบาลศิริราช ให้โทรแจ้งพยาบาลประสานงานตามที่แจ้งเบอร์ไว้

6. ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน วัดไข้ ที่สำนักงานเปลี่ยนอวัยวะศิริราช

7. ติอต่อเปิดสิทธิ

  • สิทธิข้าราชการหรือเบิกได้จากต้นสังกัด/หลักประกันสุขภาพแห่งชาติประเภทผู้ป่วยนอก เปิดสิทธิที่ตึกผู้ป่วยนอกชั้น 1 ห้อง 100

  • กรณีสิทธิประกันสังคม เปิดสิทธิที่ตึกนวมินทร 84 ปี หน่วยตรวจประกันสังคม

8. ตรวจเอกซเรย์ปอด ที่ตึกผู้ป่วยนอกชั้น 3 และอาจมีการเจาะเลือดที่ตึกผู้ป่วยนอกชั้น 1 ร่วมด้วย

9. ติดต่อเปิดสิทธิ

  • สิทธิข้าราชการหรือเบิกได้จากต้นสังกัด/หลักประกันสุขภาพแห่งชาติประเภทผู้ป่วยใน ที่ตึกผู้ป่วยนอกชั้น 1 หน่วยสิทธิ เพื่อออกเลขนอนโรงพยาบาล

  • กรณีสิทธิประกันสังคม เปิดสิทธิที่ตึกนวมินทร 84 ปี หน่วยตรวจประกันสังคม

10. เข้าพักที่หอผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ ตึก 84 ปี ชั้น 2

เอกสารสำหรับผู้ป่วยก่อนผ่าตัดปลูกถ่ายตับ

2024 คู่มือก่อนปลูกถ่ายตับ.png
bottom of page